CALL

รวมเรื่องต้องรู้ก่อนติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ Solar Rooftop

ด้วยอัตราค่าไฟที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ บวกกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดของประเทศไทย ทำให้ในปัจจุบันเราสามารถเห็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของบ้านพักอาศัยหลาย ๆ หลังกันมากขึ้น เนื่องจากการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ Solar Rooftop จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งานในบ้าน และลดค่าใช้จ่ายจากค่าไฟในแต่ละเดือนได้

แต่ก่อนจะตัดสินใจติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ก็มีเรื่องที่จำเป็นจะต้องรู้ เพื่อให้หลังคาโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งมีความแข็งแรง และสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นในบทความนี้ ECOTECH PART จะมาแนะนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ใครวางแผนจะติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ Solar Rooftop อยู่ต้องห้ามพลาด!

ระบบโซลาร์เซลล์ที่นิยมใช้งาน

ทำความรู้จักระบบโซลาร์เซลล์ที่นิยมใช้งาน

ก่อนที่จะไปดูเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ เรามาทำความรู้จักระบบโซลาร์เซลล์ที่นิยมใช้งานกันก่อนดีกว่า โดยระบบของแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน มีให้เลือกทั้งหมด 3 ระบบ ดังนี้

 ระบบออนกริด (On-Grid System) 

ระบบโซลาร์เซลล์ On Grid เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าจากทั้งแผงโซลาร์เซลล์และการไฟฟ้าได้ ข้อดีของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องติดตั้งแบตเตอรี่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก จึงจำเป็นต้องทำการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์จากการไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าการติดตั้งเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม

ระบบออฟกริด (Off-Grid System) 

ระบบออฟกริดเป็นระบบที่ไม่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า ใช้เฉพาะไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์เท่านั้น ระบบนี้มักใช้ในพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือในกรณีที่ต้องการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานอย่างสมบูรณ์ ข้อดีของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์จากการไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จำเป็นต้องมีแบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานไว้ใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ ซึ่งอาจทำให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูงกว่าระบบออนกริด

ระบบไฮบริด (Hybrid System) 

ระบบไฮบริดเป็นการผสมผสานระหว่างระบบออนกริดและออฟกริด โดยสามารถใช้ไฟฟ้าจากทั้งแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่ และระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง สามารถพึ่งพาตนเองได้ในยามฉุกเฉินและยังสามารถใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเมื่อจำเป็น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก จึงจำเป็นต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์จากการไฟฟ้าเช่นเดียวกับระบบออนกริด ทั้งนี้ ระบบไฮบริดมักมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มต้นสูงที่สุดในบรรดาทั้งสามระบบ แต่ก็ให้ประโยชน์และความยืดหยุ่นมากที่สุดเช่นกัน

5 เรื่องต้องรู้ก่อนติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Rooftop)

เพื่อให้คุณสามารถติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) ได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาในภายหลังจนทำให้งบบานปลาย ECOTECH PART ได้รวม 5 เรื่องต้องรู้ก่อนติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์มาให้แล้ว จะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย!

1. สำรวจความพร้อมของสถานที่ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์

การสำรวจความพร้อมของสถานที่ จะทำให้คุณทราบได้ว่า บ้านของคุณมีความพร้อมในการติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์หรือไม่ โดยสิ่งที่ต้องตรวจสอบในเบื้องต้นมีดังนี้

ตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้าน

การตรวจสอบกำลังไฟภายในบ้านด้วยการคำนวณจากค่าไฟที่ชำระในแต่ละเดือน จะทำให้คุณทราบได้ว่า ในแต่ละเดือนคุณใช้กำลังไฟอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วควรเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดใดจึงจะเหมาะสม 

ตรวจสอบความแข็งแรงของหลังคาบ้าน

โดยปกติแล้ว มาตรฐานของแผ่นโซลาร์เซลล์จะอยู่ที่ 1×2 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ดังนั้นจึงควรตรวจสอบความแข็งแรงของหลังคาบ้าน และวัสดุที่ใช้ปูหลังคา หากมีรอยร้าว รอยแตก รอยรั่ว หรือตรวจสอบแล้วพบว่าไม่แข็งแรง ก็ควรจะทำการซ่อมแซมหรือรีโนเวทใหม่ก่อนติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์

 สำรวจรูปทรงของหลังคาบ้าน

โดยปกติแล้วโซลาร์เซลล์จะสามารถติดตั้งกับหลังคาได้ทุกประเภท แต่ก็มีหลังคาบางประเภทที่สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่าประเภทอื่น ๆ และบางประเภทก็อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของการระบายน้ำ เช่น 

  • หลังคาทรงจั่ว เป็นทรงที่สามารถระบายความร้อนได้ดี และสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ง่ายที่สุด
  • หลังคาทรงปั้นหยา เป็นทรงที่สามารถปะทะลมและกันแดดได้ดี ทำให้สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ทุกทิศของหลังคา
  • หลังคาทรงเพิงแหงน สามารถติดตั้งได้ง่ายเช่นเดียวกับทรงจั่ว แต่จะต้องระวังในเรื่องของการรั่วซึม
ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์

2. ทำความรู้จักประเภทของแผงโซลาร์เซลล์

ประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • โมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Solar Cell) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุม และมีสีเข้ม โดยจะมีความหนาประมาณ 150-200 ไมครอน และสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดประมาณ 15-20%
  • โพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline Silicon Solar Cell) เป็นประเภทที่มีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยจะมีความหนาประมาณ 150-200 ไมครอน สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 12-15%
  • แผ่นฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) เป็นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีราคาถูกที่สุด และมีอายุการใช้งานน้อยกว่าประเภทอื่น โดยจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยได้เพียง 7-13% เท่านั้น

3. เลือกผู้ให้บริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่ได้มาตรฐาน

  • กำหนดงบประมาณในการติดตั้ง เป็นสิ่งแรกที่ต้องทำในการเลือกผู้ให้บริการในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ ซึ่งในปัจจุบัน ราคาติดตั้งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการติดตั้ง ชนิดของแผ่นโซลาร์เซลล์ และจำนวนแผ่นที่ติดตั้ง นอกจากนี้แต่ละบริษัทก็จะมีการให้บริการและราคาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรเปรียบเทียบราคา ข้อดี-ข้อเสีย และการให้บริการอื่น ๆ เพิ่ม
  • บริการหลังการขายและการรับประกัน ควรศึกษาการให้บริการหลังการขายและการรับประกันให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหากแผงโซลาร์เซลล์เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการติดตั้ง ซึ่ง Ecotech ก็มีการรับประประสิทธิภาพการผลิตยาวนานถึง 30 ปี และรับประกันวัสดุอุปกรณ์สูงสุด 15 ปี

4. ทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

หลังจากเตรียมความพร้อมของสถานที่ และเลือกผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการทำเรื่องขอติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน โดยรายละเอียดการขออนุญาตก่อสร้างจะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการติดตั้ง แต่ผู้ให้บริการหลายแห่งจะรับเป็นตัวแทนในการดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากได้มากพอสมควร

เช่นเดียวกับ ECOTECH PART ที่ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร โดยจะให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ขั้นตอนการขอสินเชื่อ และการขอใบอนุญาตตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินการด้านเอกสารราชการ เพื่อให้ลูกค้าที่ไว้วางใจ ECOTECH PART ได้รับความสะดวกสบายในขั้นตอนการติดตั้งอย่างเต็มที่

5. วิธีติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา

สำหรับขั้นตอนหรือวิธีติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่ควรรู้ในเบื้องต้น มีดังนี้

  • สำรวจและเตรียมพื้นที่ การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์เริ่มต้นด้วยการสำรวจพื้นที่และประเมินโครงสร้าง จากนั้นติดตั้งนั่งร้านชั่วคราวสำหรับการทำงานและบันไดถาวรสำหรับการบำรุงรักษาในอนาคต พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พร้อมใช้งาน
  • ติดตั้งโครงสร้างรองรับ ขั้นตอนการติดตั้ง Mounting เริ่มจากการทำเครื่องหมายตำแหน่งติดตั้งตามแบบ จากนั้นยึดติด Mounting เข้ากับโครงสร้างหลังคาด้วยประแจปอนด์ให้ได้แรงบิดที่เหมาะสม เพื่อความมั่นคงแข็งแรงของระบบ
  • ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เมื่อโครงสร้างพร้อม จึงใช้รถเครนยกแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นด้วยกระเช้าพิเศษ วางบน Mounting และยึดให้แน่นด้วยแคล้มป์ พร้อมปรับแต่งระยะและตำแหน่งให้สวยงาม
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้า ติดตั้งรางเดินสายไฟฟ้าแบบชุบกัลวาไนซ์และเชื่อมต่อสายไฟจากแผงแต่ละแผงเข้าด้วยกัน จัดระเบียบสายไฟให้เรียบร้อยใน Race Way เพื่อความสวยงามและความปลอดภัย
  • ทดสอบระบบ ตรวจสอบความแน่นหนาของการติดตั้ง ทดสอบระบบไฟฟ้า และวัดประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ก่อนทำความสะอาดและส่งมอบงาน

6. การดูแลแผงโซลาร์เซลล์

หลังจากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เรียบร้อยแล้ว ควรจะหมั่นดูแล และตรวจสภาพการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์อยู่เสมอ เพราะหากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้รับการดูแล หรือซ่อมแซมเมื่อมีการชำรุด ก็จะส่งผลให้การทำงาน และประสิทธิภาพการรับแสงน้อยลง

แต่หากคุณเลือก ECOTECH PART ก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการดูแลแผงโซลาร์เซลล์ด้วยตัวเอง เพราะ ECOTECH PART มีระบบ Software ที่คอยตรวจสอบและติดตามผลการผลิต อีกทั้งยังมีการรับประกันหลังการขายที่มีประสิทธิภาพ หาก Software พบว่ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นกับระบบการผลิต ระบบจะแจ้งเตือนปัญหาและส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ หรือแก้ไขภายใน 24 ชั่วโมง

ขั้นตอนการขอติดตั้ง Solar Rooftop หลังคาบ้าน

ขั้นตอนขอติดตั้ง Solar Rooftop หลังคาบ้าน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่า หลายคนคงพร้อมที่จะติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กันแล้ว แต่ก่อนที่จะติดตั้ง อย่าลืมไปขออนุญาตกับหน่วยงานภาครัฐให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง 

การยื่นขออนุญาตติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์จะขอได้ 2 กรณี ได้แก่

  • ขอเพื่อใช้ในบ้าน หรืออาคารเพียงอย่างเดียว ในกรณีนี้ สามารถขอติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ขนานกับระบบจ่ายไฟของการไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ภายในบ้านได้ตามปกติ ไม่ได้มีข้อกำหนดอะไรเป็นพิเศษ
  • ขอเพื่อใช้ในบ้านและอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้การไฟฟ้า ในกรณีนี้ จะต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศของการไฟฟ้า โดยจะสามารถขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับการไฟฟ้าในอัตรารับซื้อ 2.20 บาท/หน่วย และมีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้า 10 ปี

ส่วนหน่วยงานที่ต้องขออนุญาต มีดังนี้

  • ที่ทำการท้องถิ่น (เขต) เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบและประเมินพื้นที่ติดตั้งว่ามีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอหรือไม่ หรือเข้าข่ายดัดแปลงอาคารจนผิดกฎหมายหรือเปล่า
  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หากคุณติดตั้ง Solar Rooftop ที่มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง  (kWp) ต่ำกว่า 1000 kVA จะต้องยื่นแบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานด้วย
  • การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าภูมิภาค สำหรับผู้ที่ติดตั้ง Solar Rooftop ให้กับบ้านพักอาศัย สามารถยื่นเรื่องขอขนานไฟฟ้าติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบออนไลน์ได้เลย

สำหรับใครที่อ่านดูแล้ว รู้สึกยุ่งยาก ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเลย เพราะการใช้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์อัจฉริยะจาก ECOTECH PART จะมีผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยดูแลให้ตั้งแต่ก่อนติดตั้ง ขณะติดตั้ง และหลังติดตั้ง แบบครบวงจร ช่วยให้การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ สะดวก คุ้มค่าคุ้มราคามากที่สุด

รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์

รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์

1. การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือ Solar Rooftop ช่วยลดค่าไฟได้จริงไหม?

การติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์ สามารถช่วยลดค่าไฟได้จริง โดยการประหยัดจะเกิดจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากสายส่งของการไฟฟ้าน้อยลง หากมีการใช้ไฟฟ้าเท่ากับหรือมากกว่าที่ระบบสามารถผลิตได้ ก็จะสามารถประหยัดได้สูงสุดถึงประมาณ 5 แสนบาทต่อ 1,000 kWp

2. ติดโซลาร์เซลล์คุ้มไหม? กี่ปีถึงจะคืนทุน?

โดยเฉลี่ยแล้วจะคืนทุนภายใน 3-5 ปี เพื่อให้ผู้ที่ติดตั้งโซล่าเซลล์ได้กำไรคืนมาจากการประหยัดค่าไฟในปีที่ 6 อย่างน้อย 2 เท่าจากเงินลงทุน

3. ติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องขออนุญาตไหม?

การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ จะต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้านครหลวง (PEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พร้อมยื่นเอกสารให้ถูกต้องตามกฎหมาย

4. ติดโซลาร์เซลล์ทิศไหนดีที่สุด?

ควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้หันไปทางทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดเข้มข้นมากที่สุด โดยการติดตั้งควรทำองศาหรือเอียงแผงประมาณ 13.5 องศา เพื่อให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น

5. ขายไฟคืนทำได้ไหม คุ้มหรือเปล่า?

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า เราสามารถขอยื่นติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้ในบ้านและอาคาร และขายส่วนที่เหลือให้การไฟฟ้าได้ แต่จะคุ้มหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของแต่ละคน 

หากคุณติดตั้งเพื่อลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าภายในบ้าน การขายไฟคืนก็จะช่วยคืนต้นทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้เร็ว และคุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอน แต่ถ้าติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อเน้นขายไฟคืนแบบเอากำไร ก็อาจจะไม่คุ้มค่าได้ เพราะคุณจะขายไฟคืนได้แค่ 2.20 บาท/หน่วย ภายในระยะเวลา 10 ปีเท่านั้นเอง

สรุปบทความ

และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการติดตั้ง Solar Rooftop หรือโซลาร์เซลล์บ้าน สำหรับคนที่กำลังวางแผนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้เลย นอกจากนี้หากคุณกำลังมองหาผู้ให้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ ECOTECH PART ก็พร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่ เพราะเราเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์แบรนด์ AE Solar จากประเทศเยอรมนีอย่างเป็นทางการ พร้อมทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้ง และการบริการหลังการขาย รวมถึงการรับประกันที่ได้มาตรฐาน

ECOTECH PART

Ecotech เป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ แบรนด์เดียวในประเทศไทยที่เลือกใช้วัสดุนำเข้าจากเยอรมัน และให้บริการโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์กว่า 10 ปี ผ่านผลงานกว่า 500 โครงการ อีกทั้งเรายังมีมาตรฐานและเทคโนโลยีทันสมัยในการพัฒนาระบบโซลาร์เซลล์อย่างต่อเนื่อง

สินค้าและบริการ

ติดต่อเรา

ติดตามข่าวสาร

อัปเดตเรื่องน่าสนใจ
พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์

🅒 ECOTECH PART Co., ltd. - all rIGHTS RESERVED.